วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

การแสดงพื้นบ้าน


การแสดงพื้นบ้านแต่ละภาค


การแสดงพื้นเมือง   หมายถึง การแสดงที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่นและตามพื้นที่ต่างๆ ของแต่ละภูมิภาค โดยอาจมีการพัฒนา ดัดแปลงมาจากการละเล่นพื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ
3การแสดงพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่บรรพบุรุษไทยได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้และรักในคุณค่าในศิลปะไทยในแขนงนี้ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และพร้อมที่จะช่วยสืบทอด จรรโลง และธำรงไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
การแสดงพื้นเมือง เป็นการแสดงเพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการแบ่งประเภทของการแสดงพื้นเมืองของไทย โดยทั่วไปจะแบ่งตามส่วนภูมิภาค ดังนี้
๑.      การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ
๒.    การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง
๓.     การแสดงพื้นเมืองของอีสาน๔.     การแสดงพื้นเมืองของใต้
กล่าวได้ว่าการแสดงพื้นเมืองในแต่ละภาคจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของมูลเหตุแห่งการแสดง ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
 ๑.      แสดงเพื่อเซ่นสรวงหรือบูชาเทพเจ้า เป็นการแสดงเพือแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเซ่นบวงสรวงดวงวิญญาณที่ล่วงลับ
๒.    แสดงเพื่อความสนุกสนานในเทศกาลต่างๆ เป็นการรำเพื่อการรื่นเริง ของกลุ่มชนตามหมู่บ้าน ในโอกาสต่างๆ หรือเพื่อเกี้ยวพาราสีกันระหว่าง ชาย  หญิง
๓.     แสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นการรำเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ หรือใช้ในโอกาสต้อนรับแขกผู้มาเยือน๔.     แสดงเพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอันเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และวัฒนธรรมประเพณีเพื่อสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ   ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยลานนา  ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฮพาะที่แสดงถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า และทำนองเพลงประกอบกับความไพเราะของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีความเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็น เป้ยะ สล้อ ซอ ซึง และกลอง ที่ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่างๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัย และการตบมะผาบ
4
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือนอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยลานนา  ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังมีลักษณะการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชายา พระนามว่าเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าแม่ทิพเกสร  เจ้าเมืองเชียงใหม่ ทำให้อิทธิพลการแสดงของภาคเหนือในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีมีลักษณะของภาคกลางปะปนอยู่บ้าง ทำให้สามารถแบ่งลักษณะการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือได้เป็น ๓ ลักษณะ
๑.ลักษณะการฟ้อนแบบพื้นเมืองเดิม เป็นการแสดงที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น๒.ลักษณะการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น อาทิ พม่า ไทยใหญ่ เงี้ยว เช่น ฟ้อนไต ฟ้อนโต ฟ้อนเงี้ยว เป็นต้น
๓.ลักษณะการฟ้อนแบบคุ้มหลวง เป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นในคุ้มของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งมีลักษณะการฟ้อนของภาคกลางผสมอยู่ เช่น ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา  ฟ้อนน้อยใจยา เป็นต้น
     ปัจจุบันการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ สร้างสรรค์จากท่า และทำนองเพลงพื้นเมืองล้านนา ใช้หัตกรรมพื้นบ้านเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง เช่น ฟ้อนผาง ฟ้อนที เป็นต้น
 การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ  ได้แก่– ฟ้อนผีมด ฟ้อนผีเม็ง เป็นการบูชาผีบรรพบุรุษ– ฟ้อนกิงกะหลา เป็นการฟ้อนเรียนแบบนก มีลักษณะเป็นการรำคู่ เกี้ยวพาราสีหรือหยอกล้อเล่นหัวกัน– ฟ้อนผีนางดัง เป็นการฟ้อนของชาวล้านนา นิยมเล่นในเทศกาลตรุษสงกรานต์– ฟ้อนเจิง เป็นการฟ้อนที่แสดง ถึงศิลปะการป้องกันตัวด้วยมือเปล่า– ฟ้อนดาบ เป็นการแสดงถึงศิลปะการป้องกันตัวด้วยมีดดาบ– ฟ้อนจ๊าด เป็นการฟ้อนที่เล่นเป็นเรื่องราวแบบโบราณ นิยมแสดงในงานศพ และงานเทศกาลต่างๆ– ตบมะผาบ เป็นการฟ้อนด้วยมือเปล่า โดยใช้มือตบไปตามร่างกายด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้เกิดเสียงดัง– ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมที่มีความสวยงาม โดยผู้ฟ้อนสวมเล็บสีทอง
– ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับฟ้อนเล็บ แต่จะฟ้อนเวลากลางคืน โดยผู้ฟ้อนจะถือเทียน
– ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นการฟ้อนที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมีทรงประดิษฐ์ร่วมกับครูช่างฟ้อนของพม่า โดยใช้ท่ารำของราชสำนักพม่าผสมท่าฟ้อน โดยใช้ท่ารำของสำนักพม่าผสมท่าฟ้อนของไทย– ฟ้อนล่องน่าน หรือฟ้อนน้อยใจยา เป็นการฟ้อนเพื่อใช้ประกอบการแสดงละครเรื่องน้อยใจยา มีลักษณะการรำคู่ระหว่างชายกับหญิง– ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนที่แสดงถึงกรรมวิธีการทอผ้าไหม ซึ่งเป็นอาชีพของชาวไทยภาคเหนือ– ฟ้อนเก็บใบชา เป็นการฟ้อนที่แสดงถึงกรรมวิธีการเก็บใบชา ซึ่งเป็นอาชีพของชาวไทยภาคเหนือ– ฟ้อนปั่นฝ้าย เป็นการฟ้อนที่นิยมแสดงเพื่อคั่นการขับซอ ผู้ฟ้อนจะแสดงกิริยาเลียนแบบการปั่นฝ้าย– ฟ้อนหางนกยูง เป็นการฟ้อนที่ใช้หางนกยูงเป็นอุปกรณ์ประกอบ เป็นการฟ้อนเพื่อแสดงเอกลักษณ์ของชาวล้านนา มีหางนกยูงเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง– ฟ้อนที เป็นการฟ้อนโดยใช้ผู้แสดงหญิงล้วน แต่งกายพื้นเมือง ใช้ทำนองเพลงเหมยมุงเมือง– ฟ้อนผาง เป็นการฟ้อนโดยใช้ผู้แสดงหญิงล้วน แต่งกายพื้นเมือง อุปกรณ์ประกอบการแสดง คือ ตะคันดินเผาจุดเทียน
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  ด้วยเหตุที่ภาคใต้เป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาลาเชีย และเป็นดินแดนที่ติดทะเล ทำให้เกิดการผสมผสานทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรมจากกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ เกี่ยวโยงถึงศาสนาและพิธีกรรม จนทำให้นาฏศิลป์ และดนตรีในภาคใต้มีลักษณะที่เป็นเครื่องบันเทิงทั้งในพิธีกรรม และพิธีชาวบ้าน รวมทั้งงานรื่นเริงโดยมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีจังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ และเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีให้จังหวะเป็นสำคัญ ส่วนลีลาท่ารำจะมีความคล่องแคล่วว่องไว สนุกสนาน การแสดงพื้นเมืองภาคใต้มีทั้งแบบพื้นเมืองเดิม และแบบประยุกต์ที่ได้แนวความคิดมาแล้วพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบใหม่ หรือรับมาบางส่วนแล้วแต่งเติมเข้าไป
5
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  ได้แก่– หนังตะลุง  เรียกว่า หนัง หรือ หนังควน ในสมัยโบราณนิยมแสดงในงานนักขัตฤกษ์ และงานฉลองต่างๆ– ลิเกป่า เป็นการแสดงพื้นเมืองภาคใต้อีกอย่างหนึ่ง นิยมแสดงในงานทั่วไปหรือใช้ในงานแก้บน– โนรา เป็นการแสดงแบบโบราณที่มีมาช้านาน นิยมแสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล– โต๊ะครึม เป็นการแสดงประกอบการเข้าทรง เพื่อบูชาสิ่งศักสิทธิ์ หรือบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ– สิละ เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า– รองเง็ง เป็นการแสดงของชาวไทยมุสลิมที่ได้รับความนิยมมาก เป็นการเต้นรำระหว่างหญิงชาย ในงานมงคล– ซัมเป็ง เป็นการรำตามจังหวะเพลง แสดงในงานรื่นเริงต่างๆหรืองานต้อนรับแขกเมือง– มะโยง เป็นศิลปะการแสดงละครของชาวไทยมุสลิมจากวังรายา เมืองปัตตานีในอดีต ใช้ผู้แสดงส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ยกเว้นตัวตลก พระเอกเรียกว่าเปาะโย่ง นางเอกเรียกว่ามะโยง– ตารีกีปัส เป็นการรำพัด ซึ่งเกิดจากการผสมผสานกับการแสดงของมาเลเซียในเพลงชื่อบัวกาน่า วงดนตรีพื้นบ้านผสมสากล แสดงได้สองแบบคือชายหญิง และหญิงล้วน– ร่อนแร่ เป็นการแสดงที่นำกรรมวิธีร่อนแร่มาสร้างสรรค์ลีลาท่ารำ– ปาแต๊ะ เป็นการแสดงระบำพื้นเมือง ลีลาท่ารำนำมาจากกรรมวิธีการย้อมทำลวดลายโสร่งปาเต๊ะของไทยมุสลิม ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน
การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง   ภาคกลางเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านกสิกรรม และเกษตรกรรม ทำให้เป็นภาคที่มีความสมบูรณ์ ประชาชนมีความเป็นอยู่สุขสบาย การแสดงหรือการละเล่น ที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปในลักษณะที่สนุกสนาน หรือเป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกัน เช่น เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว หรือเป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ
6
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่– รำโทน เป็นการรำ และการร้องของชาวบ้าน โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เป็นการร้อง และการรำไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนหรือท่ารำที่กำหนดแน่นอน– รำกลองยาว เป็นการแสดงเพื่อความรื่นเริง ในขบวนแห่ต่างๆ ของไทยมีผู้แสดงทั้งชาย และหญิง ออกมรำเป็นคู่ๆ โดยมีผู้ตีกลองประกอบจังหวะ พร้อม ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง– ระบำชาวนา เป็นวิถีชีวิตความเป็นมาที่พากันออกมาไถนาหว่าน และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเจริญงอกงาม หลังจากนั้นพากันร้องรำเพลงด้วยความสนุกสนาน– เต้นกำรำเคียว เป็นการแสดงพื้นเมืองของจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นกันตามท้องนา ผู้แสดงทั้งชายและหญิงถือเคียวมือหนึ่งถือถือรวงข้าว ร้องเกี้ยวพาราสีกันอย่างสนุกสนาน– รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า เป็นการละเล่นที่แสดงวิธีชีวิตอันสนุกของชาวบ้านหมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการร้องรำ เกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง เริ่มการแสดงด้วยการประโคมกลองยาว จบแล้วผู้แสดงชายหญิง ออกรำทีละคู่
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน   ศิลปะการแสดงภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายภาคเหนือ ในการรวมกลุ่มของชนชาติต่างๆ เช่นพวกไทยลาว ภูไทย ไทยพวน แสก โซ่ แต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างตามเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ แต่ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นการแสดงที่เกิดขึ้นเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา และความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ  การร่ายรำจะมีลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ก้าวเท้า การวาดแขน การยกเท้า การส่ายมือ การส่ายสะโพก ที่เกิดขึ้นจากท่าทางอันเป็นธรรมชาติที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน แล้วนำมาประดิษฐ์หรือปรุงแต่งให้สวยงามตามแบบท้องถิ่นอีสานเช่นทำท่าทางลักษณะเเอ่นตัวแล้วโยกตัวไปมา เวลาก้าวตามจังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว ขยับไหล่ เน้นความสนุกสนาน 
     การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่  การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานจะมีทั้งการแสดงที่เป็นแบบดั่งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา และการแสดงที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นเป็นไปตามความถนัดหรือความสามารถของแต่ละคน โดยไม่มีระเบียบแบบแผน

7

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่– กันตรึม เป็นการแสดงเพื่อบูชาหรือบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ
– ฟ้อนภูไท เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และฟ้อนในงานประเพณีต่างๆ
– เซิ้งตังหวาย เป็นการแสดงเพื่อถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือในงานพิธีกรรมต่างๆ– เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการขอฝน– เรือมจับกรับ เป็นการแสดงที่ใช้ผู้ชายถือกรับออกมาร่ายรำไปตามจังหวะเพลงโดยไม่มีแบบแผน หรือทำท่าที่แน่นอน เป็นการรำเพื่อความสนุกสนาน– เรือมอันเร หรือ กระทบไม้ บางทีก็เรียกว่า แสกเต้นสาก เป็นการแสดงที่ใช้ไม้ไผ่มากระทบกันตามจังหวะเพลง แล้วผู้รำก็กระโดดข้ามไม้ด้วยท่าทางต่างๆ– มวยโบราณ เป็นศิลปะการต่อสู้ที่แสดงถึงความกล้าหาญ เข้มแข็ง นิยมแสดงในเทศกาลต่างๆ

รำวงมาตรฐาน

 รำวงมาตรฐาน หมายถึง ศิลปะแห่งการฟ้อนรำให้เข้ากับจังหวะหน้าทับ ใช้ท่ารำที่เป็นแบบฉบับมาตรฐานโดยรำเป็นวงกลม หันหน้าทวนเข็มนาฬิกา
          การรำวงมาตรฐานเป็นการรำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยการดูแลของกรมศิลปากรร่วมกับ กรมประชาสัมพันธ์ช่วยกันจัดทำขึ้น เพื่อให้เป็นแบบแผนในการใช้ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ไทย


ความเป็นมาของรำวงมาตรฐาน 

        รำวง มาตรฐาน มีกำเนิดมาจากการรำโทน แต่เดิมการรำโทนเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยทั่วไป ใช้เล่นกันในฤดูเทศกาลเฉพาะท้องถิ่นบางจังหวัด ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ประชาชนในพระนครและธนบุรีนิยมรำโทนกันทั่วไป เพราะรำง่าย และรำได้ทุกเพศทุกวัย จึงใช้เป็นเครื่องปลอบใจได้เป็นอย่างดี 


        รำ โทน หรือ รำวงพื้นบ้านได้รับความนิยม จึงทำให้แพร่หลายอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นานนัก จอมพล ป.พิบูลสงคราม ท่านให้ความสนใจและสนับสนุนรำวงอย่างจริงจัง จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรจัดการปรับปรุงการรำ และบทร้องให้มีแบบแผนที่แน่นอน เพื่อเชิดชูศิลปวัฒนธรรมไทยการละเล่นพื้นบ้านให้ทีระเบียบ แบบแผนเป็นแบบฉบับต่อคนรุ่นหลัง กรมศิลปากร ประพันธ์ บทเพลง คืองามแสงเดือน,ชาวไทย ,รำซิมารำและ คืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเมียด พิบูลสงคราม ประพันธ์ บทเพลง คือ ดอกไม้ของชาติ ดวงจันทร์-วันเพ็ญ ,หญิงไทยใจงาม ,ยอดชายใจหาญ ,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ,บูชานักรบ 


        กรม ศิลปากรได้นำท่ารำจาก ท่าแม่บทของนาฏศิลป์ไทย มากำหนดเป็นท่ารำของแต่ ละบท เพื่อให้เป็นต้นฉบับ จึงเรียกว่า รำวงมาตรฐาน” แม้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ แล้ว รำวงมาตรฐานก็ยังคงไม่รับความนิยม ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้มีผู้นำเอาไปสลับกับการเต้นลีลาศ ซึ่งชาวต่างชาติก็นิยมนำรำวงมาตรฐานไปเล่นกันอย่างแพร่หลายจนเป็นศิลปะที่ นิยมกันไปนานาประเทศ มีนักประพันธ์ชาวอเมริกันบางท่านที่ชอบ 


        รำวง มาตรฐานจึงนำไปเขียนกล่าวขวัญไว้ในหนังสือ Theatre In The East โดยเขาเป็นผู้แต่งแต่เรียก รำวง” เพี้ยนไปเป็น รำบวง”  สำหรับผู้ประดิษฐ์ท่ารำวงมาตรฐานคือ หม่วมต่วน (ศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก) นางมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูละมุล ยมะคุปต์

องค์ประกอบการแสดง

ผู้แสดง

        รำวงมาตรฐานผู้ร่ายรำเป็นชาย – หญิง รำคู่กันไม่จำกัดจำนวน

 

วิธีแสดง

           เป็นการรำวงในงานรื่นเริงต่าง ๆ โดยการร่ายรำตามท่ารำที่กำหนดไว้ 10 เพลง 14 ท่า มีการเคลื่อนไหวให้มือและเท้าสัมพันธ์กับจังหวะและบทร้องของแต่ละเพลง โดยเดินเป็นวงกลม อย่างไรก็ดี ท่ารำเหล่านี้เพียงแต่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานเท่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงท่าไปได้ สุดแล้วแต่จะเห็นว่าสวยงาม เพียงแต่รักจังหวะมือและเท้าให้เข้ากับเพลง 


สถานที่แสดง 

           ไม่จำกัดขอบเขต เนื่องจากให้รำได้ในโอกาสรื่นเริงต่าง ๆ จึงรำได้โดยทั่วไป

        เครื่องดนตรี    

                    ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม  มีระนาด  ฆ้องวง  ปีใน ตะโพน  กลองทัด  ฉิ่ง  ฉาบ กรับและโทน         


เครื่องแต่งกาย

           รำวงมาตรฐานเป็นศิลปะที่ต้องศึกษาและควรรำให้เป็น สำหรับการแต่งกายนั้นผู้แสดงรำวงมาตรฐานสามารถแยกได้

แบบ(ตามกรมศิลปากร) ดังนี้



การแต่งกายแบบชาวบ้าน


  • แบบที่ ๑ แบบชาวบ้าน
ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอพวงมาลัย เอวคาดผ้าห้อยชายด้านหน้า
หญิง นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบอัดจีบ ปล่อยผม ประดับดอกไม้ที่ผมด้านซ้าย คาดเข็มขัด ใส่เครื่องประดับ



  • แบบที่ ๒ แบบรัชกาลที่ ๕
ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน ใส่ถุงเท้า ร้องเท้า
หญิง นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ สไบพาดบ่าผูกเป็นโบว์ ทิ้งชายไว้ข้างลำตัวด้านซ้าย ใส่เครื่องประดับมุก



  • แบบที่ ๓ แบบสากลนิยม
ชาย นุ่งกางเกง สวมสูท ผูกไท้
หญิง นุ่งกระโปรงป้ายข้าง ยาวกรอมเท้า ใส่เสื้อคอกลม แขนกระบอก

  • แบบที่ ๔ แบบราตรีสโมสร
ชาย  นุ่งกางเกง สวมเสื้อพระราชทาน ผ้าคาดเอวห้อยชายด้านหน้า
หญิง  นุ่งกระโปรงยาวจีบหน้านาง ใส่เสื้อจับเดรป ชายผ้าห้อยจากบ่าลงไปทางด้านหลัง เปิดไหล่ขวา ศีรษะทำผมเกล้าเป็นมวยสูงใส่เกี้ยวและเครื่องประดับ



การแต่งกายแบบรำวงมาตรฐาน (จากกรมศิลปากร)








เพลงและท่ารำที่ใช้ในการรำวงมาตรฐาน


  
  


การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1        ผู้แสดงชาย และหญิงเดินออกมาเป็นแถวตรงสองแถวหันหน้าเข้าหากัน ต่างฝ่ายทำความเคารพด้วยการไหว้

ขั้นตอนที่ 2        รำแปรแถวเป็นวงกลมตามทำนองเพลง และรำตามบทร้องรวม ๑๐ เพลง โดยเปลี่ยนท่ารำไปตามเพลงต่าง ๆ                    
เริ่มตั้งแต่เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
                เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบุชานักรบ

ขั้นตอนที่ 3
        เมื่อรำจบบทร้องในเพลงที่ ๑๐ ผู้แสดงรำเข้าเวที ทีละคู่ตามทำนองเพลงจนจบ

 


บทร้องรำวงมาตรฐาน


 1. เพลงงามแสงเดือน (Ngam Sang Duan) 

          คำร้อง : จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) 

          ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท     

          ความหมายเพลง : ยามที่แสงจันทร์ส่องมายังโลกทำให้โลกนี้ ดูสวยงาม ผู้คนที่มาเล่นรำวงยามที่แสงจันทร์ส่องก็มีความงดงามด้วย การรำวงนี้เพื่อให้มีความสนุกสนาน มีความสามัคคีกัน และละทิ้งความทุกข์ให้หมดสิ้นไป

เนื้อเพลง: 

        งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า         งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)
เราเล่นกันเพื่อสนุก                               เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ                                 เพื่อสามัคคีเอย

2. เพลงชาวไทย (Chaw Thai) 

          คำร้อง : จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) 

          ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท 

          ความหมายเพลง : หน้าที่ที่ชาวไทยพึงมีต่อประเทศชาตินั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ อย่าได้ละเลยไปเสีย ในการที่เราได้มาเล่นรำวงกันอย่างสนุกสนาน ปราศจากทุกข์โศกทั้งปวงนี้ก็เพราะว่าประเทศไทยเรามีเอกราช ประชาชนมีเสรีในการคิดจะทำสิ่งใด ๆ ดังนั้นเราจึงควรช่วยกันเชิดชูชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป เพื่อความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นของไทยเราตลอดไป

เนื้อเพลง :


        ชาวไทยเจ้าเอ๋ย                       ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก                           เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี                             มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ                           ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน                             ของชาวไทยเราเอย

3. เพลงรำซิมารำ (Ram ma si ma ram) 

          คำร้อง : จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)

          ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท 

          ความหมายเพลง : ขอพวกเรามาเล่นรำวงกันให้สนุกสนานเถิดในยามว่างเช่นนี้จะได้คลายทุกข์ ถึงเวลางานเราก็จะทำงานกันจริง ๆ เพื่อจะได้ไม่ลำบาก และการรำก็จะรำอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามวัฒนธรรมไทยของเราแล้วจะดูงดงามยิ่ง

เนื้อเพลง :

        รำมาซิมารำ                                 เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานกันจริง ๆ                         ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น                             ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค                               เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ                               ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ                           มาเล่นระบำของไทยเราเอย

4. เพลงคืนเดือนหงาย (Ken Dern Ngai)           คำร้อง : จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) 

          ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท 

          ความหมายเพลง : เวลากลางคืน เป็นคืนเดือนหงาย มีลมพัดมาเย็นสบายใจ แต่ก็ยังไม่สบายใจเท่ากับการที่ได้ผูกมิตรกับผู้อื่น และที่ร่มเย็นไปทั่ว ทุกแห่งยิ่งกว่าน้ำฝนที่โปรยลงมา ก็คือการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราช มีธงชาติไทยเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ร่มเย็นทั่วไป

เนื้อเพลง :


        ยามกลางคืนเดือนหงาย                     เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา
เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต                                 เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นร่มธงไทยปกไปทั่วหล้า                         เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย


        โดย ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงครามแต่งเนื้อร้องเพิ่มอีก 6 เพลง ดังนี้
5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ (Dong jan wan pen) 


          คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามทำนอง 

          ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท 

          ความหมายเพลง : พระจันทร์เต็มดวงที่ลอยอยู่บนท้องฟ้านั้นช่างดูสวยงาม เพราะเป็นพระจันทร์ทรงกลด คือมีแสงเลื่อมกระจายออกรอบดวงจันทร์ทั้งดวง แต่ถึงจะงามอย่างไรก็ยังไม่เท่าความงามของดวงหน้าหญิงสาว ที่ดูผุดผ่องมีน้ำมีนวล อีกทั้งรูปร่างก็ดูสมส่วน กิริยาวาจาก็อ่อนหวานไพเราะ สมแล้วกับที่เปรียบว่าหญิงไทยนี้คือดอกไม้

เนื้อเพลง :
                             
        ดวงจันทร์วันเพ็ญ                         ลอยเด่นอยู่ในนภา
ทรงกลดสดสี                                       รัศมีทอแสงงามตา
แสงจันทร์อร่าม                                   ฉายงามส่องฟ้า
ไม่งามเท่าหน้า                                   นวลน้องยองใย
                                
        งามเอยแสงงาม                         งามจริงยอดหญิงชาติไทย
งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา                       จริตกิริยานิ่มนวลละไม
วาจากังวาน                                       อ่อนหวานจับใจ
รูปทรงสมส่วน                                     ยั่วยวนหทัย
สมเป็นดอกไม้                                     ขวัญใจชาติเอย

6. เพลง ดอกไม้ของชาติ (Dok mai kong chat)  

          คำร้อง :  ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

          ทำนอง : อาจารย์มนตรี ตราโมท

          ความหมายเพลง : ผู้หญิงไทยเปรียบเสมือนดอกไม้อันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย การร่ายรำด้วยการแสดงออกอย่างอ่อนช้อย งดงามตามรูปแบบความเป็นไทยแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านวัฒนธรรมของคนไทย นอกจากผูหญิงจะดีเด่นทางด้านความงามแล้วยังมีความอดทน สามารถทำงานบ้าน ช่วยเหลืองานผู้ชายหรือแม้งานสำคัญ ๆ ระดับประเทศก็สามารถช่วยเหลือได้เป็นอย่างดีไม่แพ้ผู้ชาย

เนื้อเพลง :


                                                            (สร้อย)

ขวัญใจดอกไม้ของชาติ                     งามวิลาศนวยนาดร่ายรำ (ซ้ำ)
เอวองค์อ่อนงาม                               ตามแบบนาฏศิลป์
ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น                           เจริญวัฒนธรรม
                                                 
                                                            (สร้อย)

 งามทุกสิ่งสามารถ                               สร้างชาติช่วยชาย
 ดำเนินตามนโยบาย                           สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ
                                                             
                                                            (สร้อย)

 7. เพลงหญิงไทยใจงาม (Ying Thai Jai Ngam) 

          คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม 

          ทำนอง : ครูเอื้อ สุนทรสนาน 

          ความหมายเพลง : ดวงจันทร์ที่ส่องแสงอยู่บนท้องฟ้ามีความงดงามมาก และยิ่งได้แสงอันระยิบระยับของดวงดาวด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ดวงจันทร์นั้นงามเด่นยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนกับดวงหน้าของหญิงสาวที่มีความงดงามอยู่แล้ว ถ้ามีคุณความดีด้วย ก็จะทำให้หญิงนั้นงามเป็นเลิศ ผู้หญิงไทยนี้เป็นขวัญใจของชาติ เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาติ รูปร่างก็งดงาม จิตใจก็กล้าหาญ ดังที่มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ทั่วไป

เนื้อเพลง :
               
          เดือนพราว                               ดาวแวววาวระยับ
แสงดาวประดับ                                   ส่งให้เดือนงามเด่น
ดวงหน้า                                           โสภาเพียงเดือนเพ็ญ
คุณความดีที่เห็น                                 เสริมให้เด่นเลิศงาม
ขวัญใจ                                             หญิงไทยส่งศรีชาติ
รูปงามพิลาศ                                       ใจกล้ากาจเรืองนาม
เกียรติยศ                                           ก้องปรากฏทั่วคาม
หญิงไทยใจงาม                                   ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว

8. เพลง ดวงจันทร์ขวัญฟ้า (Dong Jan Kwan Fa) 

          คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามทำนอง 

          ทำนอง : ครูเอื้อ สุนทรสนาน 

          ความหมายเพลง : ในเวลาค่ำคืนท้องฟ้ามีดวงจันทร์ประจำอยู่ ในใจของชายก็มีหญิงอันเป็นสุดที่รักประจำอยู่เช่นกัน สิ่งที่เทิดทูนยกย่องไว้ก็คือ ชาติไทยที่เป็นเอกราช มีอิสระแก่ตนไม่ขึ้นกับใคร และสิ่งที่แนบสนิทอยู่ในใจของชายก็คือหญิงอันเป็นสุดที่รัก

เนื้อเพลง :
                          
          ดวงจันทร์ขวัญฟ้า                     ชื่นชีวาขวัญพี่
จันทร์ประจำราตรี                                 แต่ขวัญพี่ประจำใจ
ที่เทิดทูนคือชาติ                                 เอกราชอธิปไตย
ถนอมแนบสนิทใน                                 คือขวัญใจพี่เอย

9. เพลงยอดชายใจหาญ (Yod Shy Jai Han) 

          คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามทำนอง

          ทำนอง : ครูเอื้อ สุนทรสนาน 

          ความหมายเพลง : ขอผูกมิตรไมตรีกับชายผู้กล้าหาญ และจะขอมีส่วนในการทำประโยชน์ทำหน้าที่ของชาวไทย แม้จะลำบากยากแค้น ก็จะขอช่วยเหลือจนเต็มความสามารถ   

เนื้อเพลง :
                             
          โอ้ยอดชายใจหาญ                     ขอสมานไมตรี
น้องขอร่วมชีวี                                     กอร์ปกรณีกิจชาติ
แม้สุดยากลำเค็ญ                                 ไม่ขอเว้นเดินตาม
น้องจักสู้พยายาม                                 ทำเต็มความสามารถ

10. เพลงบูชานักรบ (Boo Cha Nak Rop) 

          คำร้อง : ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามทำนอง   

          ทำนอง : ครูเอื้อ สุนทรสนาน 

          ความหมายเพลง : น้องรักและบูชาพี่ เพราะมีความกล้าหาญ เป็นนักสู้ที่เก่งกล้าสามารถสมกับเป็นชายชาตินักรบที่มีความมานะอดทน แม้ว่าจะยากเย็นแสนเข็ญ พี่ก็ต่อสู้จนชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว นอกจากนี้ ยังขยันขันแข็งในงานทุกอย่าง อุตส่าห์สร้างหลักฐานให้มั่นคง และพี่ยังมีความรักในชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าชีวิต ยอมสละได้แม้ชีวิตและเลือดเนื้อเพื่อให้ชาติไทยคงอยู่คู่โลกต่อไป

เนื้อเพลง :

          น้องรักรักบูชาพี่                       ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ
เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ                             สมศักดิ์ชาตินักรบ
น้องรักรักบูชาพี่                                 ที่มานะที่มานะอดทน
หนักแสนหนักพี่ผจญ                           เกียรติพี่ขจรจบ
น้องรักรักบูชาพี่                                 ที่ขยันที่ขยันกิจการ
บากบั่นสร้างหลักฐาน                           ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ
น้องรักรักบูชาพี่                                 ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต
เลือดเนื้อพี่พลีอุทิศ                               ชาติยงอยู่ยงอยู่คู่พิภพ