วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

TWITTER IS FUN

                 หลายคนคงเข้าใจว่า ทุกวันนี้ เรามีเวปต่างๆ   ท่ี่จะเป็นเสมือน apication  ในการสร้างสรรค์  แบ่งปันสิ่งต่าง ๆ   และมองว่า Twitter เป็นเรื่องยุ่งยาก  แต่หากพิจารณาดี ๆ  แล้ว จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนในการมี
Twitter เป็นของตัวเอง ก็เหมือนกับเวปอื่น ๆ ที่มีให้ใช้บริการทั่วไป 

                 จริงๆ แล้วทวิตเตอร์จะเป็นประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อถ้าคุณใช้งานเป็น และมองข้ามเรื่องที่หลายคนพูดไป  เพราะโดยธรรมชาติของบริการแห่งนี้ จะเอื้อต่อการฝากข้อความสั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เหมาะสำหรับใช้เป็นช่องทางรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้า หรือใช้ติดตามเหตุการณ์ที่คุณสนใจจากคนที่อยู่ในจุดเกิดเหตุ รวมไปถึงใช้ตามดูชีวิตของบุคคลที่คุณสนใจเป็นพิเศษ และนี่คือ 6 วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ทวิตเตอร์มีประโยชน์สำหรับคุณ

                        ติดตามข่าวเว็บไซต์โดยส่วนใหญ่ยังถือเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งข่าวที่สมบูรณ์กว่า แต่ถ้าคุณต้องการตามข่าวเฉพาะเรื่องในแบบหายใจรดต้นคอ และสนใจแม้แต่รายละเอียดยิบย่อย ทวิตเตอร์จะเป็นทางเลือกที่ดี เพราะคุณสามารถอ่านรายงานสดจากยูสเซอร์ของทวิตเตอร์คนอื่นๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือสถานที่เกิดเหตุ เช่นกรณีเครื่องบินตกที่แม่น้ำฮัดสัน ผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้นก็จะโพสต์เล่าเรื่องราวที่พบเห็นไว้ในทวิตเตอร์ของพวกเขา (คอนเซ็ปต์ของทวิตเตอร์ก็คือ การบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันด้วยข้อความสั้นๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษรต่อหนึ่งอัพเดต)
นอกจากประชาชนคนธรรมดาแล้ว คุณยังสามารถติดตามทวิตเตอร์ของไซต์ข่าวอย่าง CNN (www.twitter.com/cnn หรือเรียกย่อๆ ว่า @CNN) ซึ่งจะโพสต์หัวข้อข่าวพร้อมกับลิงก์ไปยังเนื้อหารายละเอียด แต่เราชอบ @cnnbrk มากกว่า แม้จะไม่ได้เป็นทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของสถานีข่าวแห่งนี้ แต่ก็ดีตรงที่จะสรุปข่าวให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ ในประโยคเดียว ไม่ต้องตามลิงก์ไปอ่านอีก (เว้นแต่ว่าคุณสนใจรายละเอียด)
@NYTimes ก็เป็นอีกจุดที่คุณจะพบหัวข้อข่าวด่วนทุกชั่วโมง แถมด้วยทวิตเตอร์ของนักเขียนและของคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ที่ทรงอิทธิพลฉบับนี้ ที่น่าสนใจอื่นๆ สำหรับเรื่องของข่าวก็จะมีอย่างเช่น @BreakingNewsOn, @nprnews, @weirdnews, @macrumors, @MarsPhoenix, @Astronautics และแน่นอนว่าพีซีแมกะซีนเองก็มีทวิตเตอร์รายงานข่าวในด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน (@PCMag)
      
                  ช่องทางติดต่อกับบริษัทผู้ผลิต
การใช้ทวิตเตอร์เป็นช่องทางให้บริการหลังการขายอย่างเต็มรูปแบบ อาจยังฟังดูไม่ค่อยเข้าทีเท่าไรสำหรับบริษัทส่วนใหญ่ อย่างน้อยก็จนกว่าบริการแห่งนี้จะมีสมาชิกเพิ่มอีก 10 ล้านราย อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน คุณสามารถใช้ทวิตเตอร์เป็นช่องทางในการร้องเรียนได้ และเสียงของคุณก็จะดังไปถึงเจ้าของสินค้า เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Zappos, Starbucks, Whole Foods, JetBlue และอื่นๆ อีกมากมาย (มากมายจริงๆ) ล้วนแล้วแต่มีแอ็กเคานต์ทวิตเตอร์ให้คุณใช้ในการติดต่อ
ดังนั้นต่อจากนี้ไป ถ้าคุณมีเรื่องอยากร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ลองใช้กูเกิ้ลเสิร์ชชื่อของบริษัทเจ้าของสินค้า แล้วตามด้วยคำว่า Twitter ถ้าบริษัทดังกล่าวมีแอ็กเคานต์บนทวิตเตอร์ คุณก็จะพบในผลการค้นหาลำดับต้นๆ ที่สำคัญคือ พยายามเรียบเรียงเรื่องร้องเรียนของคุณให้กระชับได้ใจความ เพราะคุณต้องไม่ลืมว่าข้อความจะถูกจำกัดไว้แค่ไม่เกิน140 ตัวอักษร
      
                            ขอความช่วยเหลือ
เช่นเดียวกับบล็อกและฟอรัม ทวิตเตอร์คือสถานที่ที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการถามคำถามที่คุณขี้เกียจค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง รวมไปถึงการขอความช่วยเหลือ (เช่น “มีใครว่างช่วยขนของย้ายบ้านวันศุกร์ไหม?”) ขอความคิดเห็น (“กล้วยแบบออร์แกนิกมีรสชาติดีกว่าหรือเปล่า?”) หรือขอคำแนะนำ (“ใส่แรมให้กับแมคบุ๊กใหม่เท่าไรดี?”) เป็นต้น
โอเว่น ริ้งเคิ้ล ผู้พัฒนาทวิตเตอร์บอกกับเราว่า ปัญหาที่คุณเคยใช้เวลาคิด 5 นาที อาจได้คำตอบออกมาภายในเวลา 10 วินาทีบนทวิตเตอร์ แต่นี่หมายถึงอย่างน้อยคุณต้องมีเพื่อนๆ ในชีวิตจริงตามดู (follow) ทวิตเตอร์ของคุณอยู่ และแน่นอนว่าถ้าจะให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุณก็ควรตามดูทวิตเตอร์ของเพื่อนด้วย เพื่อเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
      
                            โปรโมตผลงานหรือบริษัทของคุณ
เช่นเคยคือ ทวิตเตอร์ไม่ใช่บริการแรกที่ให้คุณใช้ประโยชน์ในลักษณะนี้ แต่ด้วยธรรมชาติของตัวมันเอง ทำให้ทวิตเตอร์เป็นทางเลือกที่เหมาะมากสำหรับการโปรโมตผลงานหรือประชาสัมพันธ์บริษัทของคุณ ขอแค่คุณทำแบบไม่กระโตกกระตาก มีลิงก์ไปยังแอพพลิเคชันที่คุณเพิ่งเขียนเสร็จ หรือสินค้าตัวใหม่ของบริษัทบ้างในบางโอกาส ผสมผสานไปกับเรื่องราวอื่นๆ ของคุณ ถ้าเป็นไปได้ พยายามอย่าให้ลิงก์โปรโมตงานมีเกินกว่า 3 ลิงก์ต่อสัปดาห์ เพราะนั่นจะเป็นการยัดเยียดและทำให้คนที่ตามดูคุณรู้สึกไม่ดีเปล่าๆ หรือหนักๆ เข้าก็อาจไม่สนใจที่จะตามคุณอีก
      
                              ไม่ขาดการติดต่อกับเพื่อนฝูง
นอกจากดูเรื่องราวการใช้ชีวิตประจำวันของคนแปลกหน้าเพื่อความบันเทิงแล้ว ทวิตเตอร์ยังเป็นช่องทางโปรดที่เราชอบใช้เพื่อไม่ให้ขาดการติดต่อจากเพื่อนฝูง แค่เขียนข้อความบอกเล่าเรื่องราวสั้นๆ ในแต่ละวัน เพื่อนๆ ก็จะรู้ความเป็นไปของคุณ ว่ากำลังทุกข์หรือสุขแค่ไหน ในทางตรงกันข้าม คุณก็สามารถรู้ได้ว่ามีเพื่อนคนไหนเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่หรือเปล่า หรือคนไหนกำลังอยู่ในอารมณ์เศร้าและต้องการกำลังใจ ต้องการให้คุณไปหา นี่ยังไม่นับรวมถึงการใช้ชวนกินข้าว หรือชวนทำกิจกรรมอื่นๆ
      
                             พบคนดัง
ยูสเซอร์ชื่อดังของทวิตเตอร์ที่มีคนตามดูเป็นจำนวนมากบางรายอาจไม่สนใจข้อความที่คุณส่งไปถึง แต่ไม่ใช่กับเบรนท์ สปินเนอร์ (ดาราจากสตาร์เทร็ก) ซึ่งค่อนข้างเป็นมิตรทีเดียว เช่นเดียวกับดาราตลกอย่างสตีเฟ่น ฟราย หรือถ้าคุณมีไอดอลหรือฮีโร่ในดวงใจ ลองเสิร์ชหาทวิตเตอร์ของเขาเหล่านั้น แล้วติดตามดูว่า พวกเขาใช้ชีวิตอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ


                   แต่ถ้าคุณอยากเข้าสังคมออนไลน์แห่งนี้ แต่ยังรู้สึกขัดๆ เขินๆ และก็ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ลองดู 10 ทิปที่เราแนะนำในบทความนี้ เชื่อว่าน่าจะทำให้คุณใช้งานทวิตเตอร์ได้คล่องขึ้นราวกับว่าใช้งานมาได้ระยะหนึ่งแล้ว
1. ย่อ URL ให้สั้นลง
ในการใช้งานทวิตเตอร์ เรื่องหนึ่งที่คุณหนีไม่พ้นก็คือการแชร์ลิงก์ แต่เนื่องจากในแต่ละทวีต คุณเขียนข้อความได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ถ้า URL ที่คุณต้องการแชร์ยาวเหยียด ใช้บริการย่อ URL ให้สั้นลง เพื่อที่คุณจะได้มีพื้นที่สำหรับเขียนข้อความมากขึ้น ที่เราชอบก็อย่างเช่น tinyurl.com, is.gd, ow.ly และ bit.ly
   
   
2. RT = Retweet
ถ้าคุณพบทวีตที่ถูกใจ และต้องการก๊อบปี้ไปแปะ (paste) ไว้บนไซต์ของตัวเอง หรือที่ไหนก็ตาม คุณสามารถทำได้ไม่มีปัญหา ตราบใดที่คุณให้เครดิตกับผู้เขียนข้อความในทวีตนั้น ซึ่งโดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว จะใช้การใส่คำว่า RT แล้วตามด้วยชื่อทวิตเตอร์ของเจ้าของทวีต เช่นถ้าคุณนำทวีตของเราไปใช้ คุณก็ควรใส่คำว่า RT @PCMag ไว้น่าทวีตนั้น
  
    
3. ส่งเมสเซจส่วนตัว
ด้วยฟังก์ชัน Direct Messages ของทวิตเตอร์ คุณสามารถส่งข้อความส่วนตัวที่มีขนาดไม่เกิน 140 ตัวอักษรไปยังผู้ใช้ทวิตเตอร์คนอื่นๆ ได้ ลักษณะจะคล้ายกับอีเมล์ฉบับย่อ แต่มีข้อแม้ว่าคนที่คุณจะส่งข้อความถึงได้นั้น ต้องเป็นยูสเซอร์ที่ตามดู (follow) คุณเท่านั้น
      

4. ใช้สัญลักษณ์ @
ถ้าคุณต้องการอ้างถึง ให้เครดิต หรืออยากติดต่อกับผู้ใช้ทวิตเตอร์คนอื่นๆ ให้ใส่สัญลักษณ์ @แล้วตามด้วยชื่อทวิตเตอร์ของคนๆ นั้นไว้ในทวีตของคุณ ข้อความในส่วนดังกล่าว (@ยูสเซอร์เนม) ก็จะกลายเป็นลิงก์นำไปยังทวิตเตอร์ของยูสเซอร์รายที่ว่า และที่สำคัญคือ ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนั้นสามารถเห็นข้อความในทวีตนี้ของคุณด้วย ในทางตรงกันข้าม คุณก็สามารถเช็กได้ว่ามีใครอ้างถึงคุณในทวีตของพวกเขาบ้าง ด้วยการคลิกที่ @ยูสเซอร์เนมของคุณเองจากกรอบทางขวามือในหน้า Home
      

5. หาเพื่อนของคุณ
ถ้าคุณยังไม่รู้จะเริ่มต้นสังคมออนไลน์แห่งนี้อย่างไร ลองใช้ Search.twitter.com หาทวิตเตอร์ของเพื่อนคุณ ทวิตเตอร์ของคนดัง หรือของบริษัทที่คุณสนใจ เพื่อที่คุณจะได้ตามดู หรือถ้าคุณมีหัวข้อที่สนใจอยู่แล้ว ก็สามารถใช้หัวข้อนั้นเป็นคีย์เวิร์ดในการค้นหาได้เลย
      

6. เพิ่มโอกาสในการถูกพบให้กับทวีตของคุณ
ถ้าเรื่องที่คุณกำลังจะเขียนเป็นหัวข้อซึ่งอยู่ในกระแสความสนใจ (เช่นโอบาม่า ซีรีส์เรื่อง Lost หรืออื่นๆ) การใส่เครื่องหมาย # ไว้ข้างหน้าหัวข้อนั้น (เช่น #Lost) จะทำให้คนอื่นๆ พบทวีตของคุณได้ง่ายขึ้น และบางทีเขาเหล่านั้นก็อาจตามดูคุณต่อ ยกตัวอย่างเช่นกรณีของเครื่องบินตกที่แม่น้ำฮัดสัน #flight1549 ได้กลายมาเป็นแท็กยอดฮิต เช่นเดียวกับเป็นคีย์เวิร์ดที่ผู้คนจำนวนมากใช้ในการเสิร์ช
      

7. แชร์ภาพถ่าย
ผู้คนส่วนใหญ่ชอบที่จะแชร์ภาพของตัวเองให้กับคนทั้งโลกได้ดู และบางคนก็โด่งดังจากการเรื่องนี้ อย่างเช่นกรณีของจานิส คลุมส์ ซึ่งใช้ TwitPic โพสต์ภาพของเที่ยวบิน 1549 ไว้บนทวิตเตอร์ของเขาได้ก่อนใครเพื่อน เช่นเดียวกันคุณสามารถใช้ TwitPic รวมถึงอีกหลายๆ บริการที่ลักษณะคล้ายกันนี้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการอัพโหลดและโพสต์ภาพไว้บนทวิตเตอร์
      

8. ทวีตจากมือถือ
ทวิตเตอร์ให้คุณส่งข้อความตัวอักษรจากโทรศัพท์มือถือเพื่ออัพเดตทวีตของคุณ เช่นเดียวกับที่รับทวีตใหม่ของคนอื่นๆ ซึ่งคุณตามดูอยู่ได้ แต่ก่อนอื่นคุณต้องเข้าไปที่ Settings คลิกที่แท็บ Devices แล้วใส่หมายเลขโทรศัพท์ของคุณก่อน ในทางตรงกันข้าม ถ้าใช้ไปสักพักแล้วคุณรู้สึกว่าการรับทวีตของคนอื่นๆ บนโทรศัพท์มือถือ สร้างความรำคาญให้กับคุณมากกว่าการได้อัพเดตเรื่องราว คุณก็สามารถเข้ามายกเลิกได้จากในแท็บเดียวกันนี้
      

9. หาเดสก์ทอปไคลเอ็นต์ดีๆ มาใช้
ด้วยเดสก์ทอปไคลเอ็นต์อย่าง TweetDeck, Twhirl หรือ TwitterFox คุณสามารถรับทวีตและจัดให้เป็นหมวดหมู่หรือเป็นระบบระเบียบสำหรับการตามอ่านได้ ไคลเอ็นต์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากถ้าคุณตามดูทวีตของหลายคน และมีการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ รวมไปถึงใช้ฟังก์ชัน direct messages อยู่บ่อยๆ
      

10. ดาวน์โหลดโมบายไคลเอ็นต์
ถ้าคุณมีแบล็กเบอร์รี่ ไอโฟน หรือสมาร์ตโฟนอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi หรือทำงานบนเครือข่าย 3G เราอยากแนะนำให้ดาวน์โหลดโมบายไคลเอ็นต์ของทวิตเตอร์มาใช้ เพราะจะช่วยให้คุณทำอะไรได้มากกว่าแค่ส่งข้อความที่เป็นเท็กซ์ ไคลเอ็นต์ที่น่าสนใจก็จะมีอย่างเช่น Twitterific, TwitterBerry, PocketTweets และ Twidroid เป็นต้น

เครดิตข้อมูลจาก  http://www.arip.co.th/articles.php?id=407314

แล้วพบกันครับ   Mr.Puchiss คนเดิม

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

TWITTER ไม่ยากอย่างที่คิด



เรามาสมัครกันก่อนคร้าบ


1. เข้าที่เว็บ http://www.twitter.com/
2. คลิกที่ปุ่ม Sign up now
3. ใส่รายละเอียดผู้สมัคร





Fullname = เป็นชื่อของผู้สมัคร (สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้ครับ)
                    Username = ชื่อทวิตเตอร์ของเรา และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดครับ แม้เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้แต่ก็ไม่ควรเปลี่ยนบ่อยๆ เพราะจะทำให้เพื่อนๆจำเราไม่ได้ครับ ชื่อทวิตเตอร์ ควรตั้งชื่อสั้นๆ ให้คนอื่นจำได้ง่ายๆ เช่น iwhale , xza , iThA , maritey , JeyPan ,Oaddybeing , DearAnnie เป็นต้นครับ
                    Password = ตั้งรหัสผ่าน ตั้งยากๆแต่จำง่าย ควรมีตัวอักษรและตัวเลขผสมกัน เช่น nana2009 , we20ar09 , 1234good เป็นต้นครับ(ให้คิดเองตั้งเองนะครับอย่างเอาตามตัวอย่าง เดี๋ยวโดนขโมยแอคเคาท์ทวิตเตอร์ไป ไม่รู้ด้วยนะ :-P)
                    Email = ใส่อีเมล์ของเราครับ (ขอเป็นอีเมล์ที่ใช้งานได้จริงครับ)
                    Type the words above = ให้ใส่คำที่เรามองเห็นจากด้านบน (ซึ่งจะเห็นว่ามีการเว้นวรรคด้วย) เมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยก็อย่าลืมคลิกตรงคำว่า Create my account ด้วยครับ




          4. ขั้นตอนนี้ระบบจะให้เราเชิญชวนเพื่อนๆที่อยู่บัญชีรายชื่ออีเมล์(Address book)ของเราครับ ตรงนี้ให้ คลิกที่ Skip this step ข้ามไปก่อน








5. ขั้นตอนสุดท้ายทวิตเตอร์อยากจะแนะนำเพื่อนให้เราไปติดตาม (follow) อ่านข้อความที่เค้าโพสต์ไว้ แต่ดูยังไงก็ไม่คุ้นหน้า ถ้าเช่นนั้นเราน่าจะข้ามขั้นตอนนี้ไปก่อน เอาเครื่องหมายถูกออกจาก Select All แล้วคลิก Finish








ตอนนี้เราก็เข้าสู่ทวิตเตอร์ของเราเป็นครั้งแรกครับ



 



 

URL ด้านบนก็จะเป็น http://www.twitter.com/Usernameของเรา ครับ ถึงตอนนี้เราก็มีทวิตเตอร์เป็นของตัวเองแล้ว หากใครถามว่า ชื่อทวิตเตอร์ของเราคืออะไร เราก็บอกชือที่อยู่ด้านหลังURLไปได้เลยครับ จากรูปนี้ทวิตเตอร์ชื่อ mike304




และถ้าจะให้เป็นทางการหน่อยก็อย่าลืมใส่ @ ด้านหน้าชื่อของเราด้วย อันนี้เป็นตัวอย่างชื่อทวิตเตอร์ของเพื่อนผมครับ  เช่น  @nop_wong   ,    @yadaicare    หรืออันนี้  พระคุณเจ้าที่ผมเคารพ และศรัทธา  @satabut , @rungting52 (ท่านหลังเนี่ย ขอบอก  ไฮเทคโนโลยีทีเดียวเชียวครับ



         เครดิตให้กับ คุณ mike304 ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับผม






ผมเอง  PUCHISS  คร้าบ





วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์

ในวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตกาลมีการร้องรำทำเพลง และระบำ รำ เต้น เพื่อการบันเทิงและพิธีกรรม อันเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาจนเกิดเป็นนาฏยศิลป์ขึ้น การพัฒนาส่วนหนึ่งเกิดจากภายในสังคมไทย อีกส่วนหนึ่งมาจากชนชาติเพื่อนบ้านที่มีนาฏยศิลป์รุ่งเรือง เช่น เขมร  มอญ  หลังจากการพัฒนามาหลายร้อยปี นาฏยศิลป์ไทยในยุคอยุธยาตอนปลายจึงรุ่งเรือง 
          เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี  รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงสถาปนานาฏยศิลป์ไทยในด้านวรรณคดี การแสดง ตำรา กฎเกณฑ์  ให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน  เป็นเครื่องบันเทิงของทวยราษฎร์  และทำให้เห็นว่าบ้านเมืองมั่นคง  
          รัชกาลที่ ๒ ทรงพัฒนาละครในให้วิจิตรและทรงคิดละครนอกแบบหลวงขึ้น
          รัชกาลที่ ๓ ทรงละเลิกนาฏยศิลป์ในราชสำนักหันไปสนพระทัยการพระพุทธศาสนา แต่ละครกลับเจริญอยู่ภายนอก  อีกทั้งมีโนรา แอ่วลาว สวดแขก และงิ้ว  ติดตามผู้อพยพเข้ามาแสดงในกรุง  
          สมัยรัชกาลที่ ๔ กลับมามีละครผู้หญิงของหลวงอย่างเดิมด้วยโปรดให้ผู้หญิงแสดงละครได้  ไม่หวงห้าม ละครผู้หญิงแพร่หลายเพราะคนนิยมดูผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  มีการจ้างเหมาการแสดงในวิกโรงบ่อนทั่วกรุงเพื่อดึงดูดลูกค้า   อนึ่ง วรรณคดี ดนตรี นาฏยศิลป์ของชนหลายชาติหลายภาษาที่ตั้งรกรากในกรุงเทพฯ  ทำให้การเล่นออกภาษาแพร่หลาย การออกภาษาเป็นปัจจัยให้เกิดละครพันทางซึ่งเป็นจุดเริ่มการแตกตัวของนาฏศิลป์ไทย 
          สมัยรัชกาลที่ ๕ มีความเจริญทางสังคม เศรษฐกิจ การปกครอง การสาธารณูปโภค และศิลปวิทยาการทางตะวันตก ทำให้มีนาฏยศิลป์ไทยรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมาก คือ ละครพูด ละครพูดสลับลำ ละครดึกดำบรรพ์ ลิเก ละครร้อง เสภารำ และเพลงทรงเครื่อง นาฏยศิลป์ในรัชกาลนี้กลายเป็นนาฏยพาณิช จึงมีเนื้อหาและรูปแบบหลากหลายตามรสนิยมคนดู  ภาพยนตร์กับดนตรีเริ่มมีเข้ามาประปราย
          รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้ละครเพื่อพัฒนาอุดมการณ์ของชาติ ขณะเดียวกันก็ทรงทำนุบำรุงนาฏยศิลป์ดั้งเดิมโดยเฉพาะโขน ส่วนละครนอก ละครใน ละครดึกดำบรรพ์ ยังมีคณะละครบรรดาศักดิ์แสดงอยู่บ้าง  ละครร้อง และลิเกนั้น แสดงออกภาษามากขึ้นและเป็นยุคทองของละคร ๒ ชนิดนี้  การแสดงอื่น ๆ ได้รับความกระทบกระเทือนจากการปิดบ่อนการพนันและการแย่งคนดูของภาพยนตร์ 

          สมัยรัชกาลที่ ๗ เกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจทำให้ต้องลดการสนับสนุนนาฏยศิลป์ไทยในราชการลง  แต่ละครร้องยังคงพัฒนาต่อไปเป็นละครเพลงด้วยวงดนตรีสากลและเพลงไทยสากล  รัชกาลที่ ๗  สนพระทัยดนตรีไทย ดนตรีสากล และภาพยนตร์ไทย  จึงโปรดให้สร้างโรงภาพยนตร์ทันสมัยขึ้นฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี  มีการตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นในกรมศิลปากร  และเชิญครูนาฏยศิลป์ฝีมือดีจากที่ต่าง ๆ มาถ่ายทอดนาฏยศิลป์ไทยให้อนุชนได้อนุรักษ์และพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
           อ้างถึง : ผู้เขียน : ศ. ดร.สุรพล  วิรุฬห์รักษ์  (อาจารย์ในดวงใจ ของข้าพเจ้า)  ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ประเภทวิจิตรศิลป์ สาขาวิชานาฏกรรม
                  ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑๕๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗


                        จนถึงในปัจจุบันนี้  นาฏศิลป์ไทย ก็ยังนับว่าได้รับการสืบทอดจากเยาวชนไทยในปัจจุบัน  โดยใช้กระบวนการเดิมคือ ถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่นไปยังศิษย์นาฏศิลป์ที่จะช่วยกันร่วมธำรงค์ไว้ซึ่งศิลปะไทยแขนงนี้  ทั้งยังมีการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์แบบใหม่ ๆ เพื่อเป็นการนำภูมิปัญญา บูรพคณาจารย์นาฏศิลป์ไทยที่ได้ประสิทธิ์ประสาทไว้ให้แก่ศิษย์นาฏศิลป์ไทย  มาสรรค์สร้างเป็นงานศิลป์ใหม่ๆ  เพื่อเชื่อมโยงสภาวะปัจจุบัน กับนาฏศิลป์ไทยดั้งเดิมในอดีต