วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

ทบทวนก่อนสอบกลางภาคเรียนที่ 2 /2559 วิชาดนตรี-นาฏศิลป์2 ศ21104


องค์ประกอบของดนตรี
  1. เสียงของดนตรี (Tone)  เป็นเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยนำเสียงต่าง ๆ มาจัดในระบบให้ได้สัดส่วน ม่ความกลมกลนกัน
   2. ทำนอง ( Melody) หมายถึง เสียงสูง ต่ำ  ยาว สั้น  ของเครื่องดนตรี หรือเสียงคนร้อง  ทำนองของดนตรีหรือบทเพลงจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ประพันธ์เพลง
  3. จังหวะ ( Rhythm)  หมายถึง การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ    การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียงมีส่วนสัมพันธ์กับระยะเวลาในการร้องเพลง หรือเล่นดนตรี  จะต้องมีจังหวะเป็นเกณฑ์ ถ้าร้องเพลงหรือเล่นดนตรีไม่ลงจังหวะ ก็จะไม่มีความไพเราะเท่าที่ควร
 4. การประสานเสียง (Harmony)  หมายถึง เสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ ที่มีระดับเสียงต่าง กัน  เปล่งออกมาพร้อมกัน  โดยเสียงที่เปล่งออกมาจะต้องผสมผสานกลมกลืนกัน
 5. รูปแบบการประพันธ์เพลง (Form) หรือฉันทลักษณ์  เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ดนตรีที่ีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีระบบและระเบียบ  ทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจ สัมผัสกับสุนทรียรสได้ง่ายและเป็นอมตะ

ลักษณะของดนตรี
  1.  ดนตรีพื้นเมืองหรือดนตรีพื้นบ้าน  เป็นดนตรีที่มีอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เครื่องดนตรีส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ซึ่งอาจจะเป็น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง  โทน รำมะนา  กลองยาว และ ท่วงทำนองของเพลงมักจะเป็นทำนองสั้นๆ ซ้ำ ๆ วนไปวนมา  โดยเปลี่ยนเนื้อร้องไปเรื่อย ๆ ภาษาที่ใช้ในการขับร้องจะเป็นภาษาประจำถิ่น
 2. ดนตรีแบบฉบับ  แสดงถึงความโดดเด่นของชาตินั้น เช่น ดนตรีไทย เดิมเป็นดนตรีพื้นเมืองของภาคกลาง  ต่อมาได้รับการพัฒนาและนำเข้าไปเล่นในราชสำนัก ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากครูดนตรีหลายท่าน จนเป็นที่ยอมรับว่า เป็นดนตรีชั้นสูงที่มีความไพเราะ ดนตรีประเภทนี้จึงเรียกทับศัพท์ว่า "ดนตรีคลาสสิค"
 3. ดนตรีสมัยนิยม หรือดนตรีชนนิยม  คือ ดนตรีที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป  เช่น  ดนตรีไทยสากล  ทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และวงดนตรีสากลทั้งหลายในปัจจุบัน  ดนตรีประเภทนี้จะมีเพลงซึ่งได้รับความนิยมอยู่เวลาหนึ่ง และก็จะเสื่อมความนิยมลง และจะมีเพลงใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่


หลวงประดิษฐ์ไพเราะ
ลวงประดิษฐ์ไพเราะ มีนามเดิมว่าสอน หรือศร เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลง บิดาของท่านคือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)
ในปี พ.ศ. 2443 ขณะเมื่ออายุ 19 ปี ท่านได้แสดงฝีมือเดี่ยวระนาดเอกถวายสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวเข้ามาไว้ที่วังบูรพาภิรมย์ ทำหน้าที่คนระนาดเอกประจำวงวังบูรพาไปด้วย พร้อมกับสมเด็จท่านได้ เชิญครูมาสอนที่วัง คือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เนื่องจากจางวางศร ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นอย่างมาก ทรงจัดหาครูที่มีฝีมือมาฝึกสอน ทำให้จางวางศรมีฝีมือกล้าแข็งขึ้นในสมัยนั้นไม่มีใครมีฝีมือเทียบเท่าได้เลย
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นายสอน ศิลปบรรเลง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ มีราชการในกรมมหรสพ ถือศักดินา 400[1] เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน[2] แล้วได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร ในวันที่ 13 กรกฎาคม ศกเดียวกัน[3] ทั้งนี้ท่านไม่เคยรับราชการอยู่ในกรมกองใดมาก่อน แต่เพราะฝีมือและความสามารถของท่านเป็นที่ต้องพระหฤทัยนั่นเอง
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2469 ท่านได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง กระทรวงวัง ท่านได้มีส่วนถวายการสอนดนตรีให้กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี รวมทั้งมีส่วนช่วยงานพระราชนิพนธ์เพลงสามเพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรละออองค์เถา และ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น
หลวงประดิษฐไพเราะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 รวมอายุ 73 ปี
ผลงานของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ
เพลงได้แต่งไว้หลวงประดิษฐไพเราะ ได้แต่งเพลงไว้มากกว่าร้อยเพลง ดังนี้:
เพลงโหมโรง 
โหมโรงกระแตไต่ไม้ โหมโรงปฐมดุสิต โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงบางขุนนท์ โหมโรงนางเยื้อง โหมโรงม้าสะบัดกีบ และโหมโรงบูเซ็นซ๊อค เป็นต้น
เพลงเถา 
กระต่ายชมเดือนเถา ขอมทองเถา เขมรเถา เขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีเถา แขกขาวเถา แขกสาหร่ายเถา แขกโอดเถา จีนลั่นถันเถา ชมแสงจันทร์เถา ครวญหาเถา เต่าเห่เถา นกเขาขแมร์เถา พราหมณ์ดีดน้ำเต้าเถา มุล่งเถา แมลงภู่ทองเถา ยวนเคล้าเถา ช้างกินใบไผ่เถา ระหกระเหินเถา ระส่ำระสายเถา ไส้พระจันทร์เถา ลาวเสี่งเทียนเถา แสนคำนึงเถา สาวเวียงเหนือเถา สาริกาเขมรเถา โอ้ลาวเถา ครุ่นคิดเถา กำสรวลสุรางค์เถา แขกไทรเถา สุรินทราหูเถา เขมรภูมิประสาทเถา แขไขดวงเถา พระอาทิตย์ชิงดวงเถา กราวรำเถา ฯลฯ

เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่๙)
เพลงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชปรีชาญาณในเรื่องของดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช รวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 48 เพลง เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง มี 5 เพลง คือ "Echo", "Still on My Mind", "Old-Fashioned Melody", "No Moon" และ "Dream Island" นอกจากนี้ มีเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นภายหลังใส่ในคำร้องที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว คือ ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และ รัก
ผู้ที่โปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำร้องประกอบเพลงพระราชนิพนธ์มีหลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยาศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นครท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยานายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์)ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ม.ล.ประพันธ์สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นต้น
ในยุคแรก หลังจากที่เพลงพระราชนิพนธ์มีทำนองและคำร้องสมบูรณ์แล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้แพร่หลายทั่วไป และโดยพระองค์ท่านเองทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรี วง อ.ส. วันศุกร์ ออกอากาศ ปรากฏว่าหลายเพลงกลายเป็นเพลงยอดนิยมทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ในระยะหลังพระองค์มีพระราชกรณียกิจมากมาย ทำให้พระองค์ทรงไม่มีเวลาที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ๆออกมา เพลงสุดท้ายที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ออกมาคือเพลง "เมนูไข่" เป็นเพลงแนวสนุกสนาน เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษาแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2538
และบทเพลงพระราชนิพนธ์ ที่นักเรียนได้ศึกษา  มีจำนวน ๙ บทเพลง  คือ  
ลำดับที่  ๒  ยามเย็น
ลำดับที่  ๓ สายฝน
ลำดับที่  ๔ ใกล้รุ่ง
ลำดับที่  ๕ ชะตาชีวิต
ลำดับที่  ๘  อาทิตย์อับแสง
ลำดับที่  ๑๓  พรปีใหม่
ลำดับที่  ๒๗  แสงเดือน
ลำดับที่  ๓๔  แผ่นดินของเรา
ลำดับที่  ๔๔  เราสู้

21 ความคิดเห็น:

  1. ด.ญ.สุรางคณา พงษ์ซื่อ ม.1/1 เลขที่ 17

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ5 มกราคม 2560 เวลา 16:53

    ขอบคุณนะค่ะที่ให้ความรู้ก่อนสอบ....ด.ญ.เสาวภา กวยทะวิมล ม.1/1 เลขที่30

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ5 มกราคม 2560 เวลา 17:03

    ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณนะค่ะที่ให้ความรู้ก่อนสอบ....ด.ญ.สลิลทิพย์ หินทอง ม.1/1 เลขที่ 33

    ตอบลบ
  5. ด.ญ.กัณนิกา ปราณีราษฎร์ ม.1/1 เลขที่26

    ตอบลบ
  6. ด.ช.ศรราม แก้วศักดิ์ดา ม.1/1 เลขที่ 11

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณสำหรับข้อมูลก่อนสอบครับ.... ด.ช.ภูณภัทร ภูสิมมา ม.1/1 เลขที่3

    ตอบลบ
  9. ด.ญ.สิรินภา ศรีภิรมย์ ม.1/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  10. ด.ญ.วรกมล อ่อนหวาน ชั้น ม.1/1 เลขที่ 28

    ตอบลบ
  11. ด.ญ. นฤมล รวงผึ้ง ม.1/1เลขที่ 8

    ตอบลบ
  12. ด.ญ.ศุภวรรณ ธรรมนิยม ม.1/1 เลขที่21

    ตอบลบ
  13. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  14. ด.ช.ศรีสังข์ กุจั่น ม.1/1 เลขที่7

    ตอบลบ
  15. ด.ช.สิทธิชัย สืบเสาะ ม.1/1 เลขที่5

    ตอบลบ
  16. ด.ช.สิทธิชัย สืบเสาะ ม.1/1 เลขที่5

    ตอบลบ
  17. ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ก่อนสอบ....ด.ช.ทศวรรษ ไกรสนสุข ม.1/1 เลขที่31

    ตอบลบ
  18. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  19. ขอบคุณสำหรับความรู้ก่อนสอบครับ...ด.ช.อิศรา ม.1/1 เลขที่ 1

    ตอบลบ
  20. ขอบคุณครับ ....ด.ช.นพนนท์ สนเทศ ม.1/1 เลขที่9

    ตอบลบ